การรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา

เมื่อได้กรอบของปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขแล้ว จากนั้นก็ต้องทำการรวบรวมข้อมูลหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมที่สุด ก่อนรวบรวมข้อมูล ต้องมีการกำหนดประเด็นในการรวบรวมข้อมูลก่อนว่าต้องการจะสืบค้นเรื่องใดบ้าง เพื่อประหยัดเวลาและช่วยให้การสืบค้นข้อมูลง่ายขึ้น

ตัวอย่างประเด็นการรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหาขยะล้นถังในโรงเรียน



น้ำหวาน  ต้องการลดปริมาณขยะ  จะต้องสืบค้นข้อมูลอะไรบ้าง



ชวนคิด

            ลองช่วยกันคิดสิว่า  ถ้านักเรียนเป็นนนท์ ซึ่งต้องการหาวิธีการบีบอัดขยะ  นักเรียนจะรวบรวมข้อมูลในประเด็นใดบ้างการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น  สืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในอินเทอร์เน็ต  สำรวจจากสถานที่จริง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ  สืบค้นจากเอกสาร บทความ งานวิจัย เพื่อนข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอด  หรือประยุกต์ให้สามารถแก้ปัญหาตามที่กำหนดไว้ได้

           การรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น  สืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในอินเทอร์เน็ต  สำรวจจากสถานที่จริง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ  สืบค้นจากเอกสาร บทความ งานวิจัยเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอด  หรือประยุกต์ให้สามารถแก้ปัญหาตามที่กำหนดไว้ได้สืบค้นโดยใช้ keyword คำว่า "ขยะ"ผลลัพธ์ที่ได้จะมีข้อมูลที่หลากหลายและกว้างแม้จะอยู่ในขอบเขตของคำว่า "ขยะ"

รูปที่ 12 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับขยะ

           ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นโดยใช้คำสำคัญคือ "ขยะ"  พบว่ายังไม่สามารถพบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะได้ตามที่ต้องการ  เนื่องจากคำที่ใช้ในการสืบค้นเป็นคำที่มีความหมายกว้างเกินไปไม่มีคำจำเพาะเจาะจง  จึงต้องกำหนดคำสำคัญในการสืบค้นใหม่ เช่น คำว่า "การลดปริมาณขยะ"สืบค้นโดยใช้ keyword คำว่า "การลดปริมาณขยะ"ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับความต้องการเกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ

รูปที่ 13 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ

           การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  และหากนำข้อมูลมาจากเอกสาร บทความ บุคคล สถานที่ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ  ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องและชัดเจน

           การพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลใดมีความน่าเชื่อถือ  สามารถสังเกตได้จากชื่อผู้เขียนหรือหน่วยงานที่ปรากฏชัดเจน  ระบุวันที่ในการเผยแพร่ข้อมูล และแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล โดยแหล่งที่มาของข้อมูลหากเป็นหน่วยงานควร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นโดยตรง  หรือหากเป็นบุคคล ก็ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และควรเปรียบเทียบข้อมูลที่สืบค้นมาจากหลายแหล่ง

ชวนคิด

           ถ้าต้องการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  นักเรียนจะใช้คำสำคัญอะไรในการสืบค้นข้อมูล ให้แต่ละกลุ่มลองช่วยกันคิด  แล้วลงมือสืบค้นข้อมูลจริง จากนั้นลองเปรียบเทียบดูว่ากลุ่มไหนสืบค้นได้เร็ว  และได้ข้อมูลตรงประเด็นมากที่สุด

แหล่งที่มาของข้อมูล คือ  หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง

รูปที่ 14 ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

           ในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่สืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องมีการระบุรายละเอียดหลักๆ  ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง วันที่ทำการสืบค้น ชื่อฐานข้อมูล ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ฤดูบนโลก. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561, จาก http://scimath.org/article-earthscience/item/

           การรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหานั้น บางครั้งจำเป็นต้องใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์  เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอต่อการแก้ปัญหา หากสังเกตการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวจะพบว่า ต้องใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์มาประกอบกัน  จึงจะสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น

           การทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งนั้นจะต้องนำความรู้จากหลายๆศาสตร์มาใช้ร่วมกัน  ตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนการทำให้เกิดก้อนเมฆเพื่อนำไปสู่การเกิดฝนนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางเคมีในการนำเกลือโซเดียมคลอไรด์ มาโปรยในอากาศเพื่อให้เกลือดูดซับไอน้ำ จากนั้นจึงกลั่นตัวเป็นเม็ดน้ำ  แล้วรวมกันจนเป็นก้อนเมฆ และต้องใช้ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาเพื่อตรวจสอบว่าทิศทางลมและสภาพของอากาศแบบใดที่เหมาะสมในการทำให้เกิดเมฆได้ง่ายที่สุด


ใบงาน 1.4 การวิเคราะห์ปัญหาตามหลัก 5w1h

คำชี้แจง : ให้นักเรียนทำการดาวน์โหลดใบงานโดยเติมข้อความให้ครบถ้วนสมบูรณ์และจัดตกแต่งใบงานให้สวยงาม

ใบงาน 1.4 การรวบรวมข้อมูล.docx